วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทที่ 3

สรุปบทที่
-อธิบายองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
มีทั้งหมด 5 หน่วย
1. หน่วยรับข้อมูล ( input unit ) ทำหน้าที่ รับข้อมูล หรือคำสั่งต่างๆ จากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ข้อมูล ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งเข้าไปทำการประมวลผลต่อไป เช่น คีบอร์ด เมาส์
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)   หน่วยประมวลผลกลาง หรือไมโครโพรเซสเซอร์ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้ใน หน่วยความจำมาแปลความหมาย และกระทำตามคำสั่งพื้นฐานของไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง  ซึ่งเป็นชิปที่ทำจากซิลิกอน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 หน่วยคือ 
- หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เช่น ควบคุมการทำงานของความจำหลัก หน่วยรับข้อมูล หน่วยคำนวณและตรรกะ หน่วยแสดงผล และที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นการทำงานของหน่วยนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางระบบประสาท ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยที่หน่วยควบคุมและซีพียูจะรับรู้คำสั่งต่าง ๆ ในรูปของคำสั่งภาษาเครื่องเท่านั้น ถ้าผู้ใช้เขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาระดับสูง (High Level Language) ก่อนที่จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องมีการแปลงเป็นภาษาระดับต่ำ (Low Level Language) ก่อน
- หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า เอแอลยู (ALU) ทำหน้าที่ประมวลผลการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนการเปรียบเทียบทางตรรกะทั้งหมด
3.หน่วยความจำ (Memory Unit)  หน่วยความจำ (Memory Unit) อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำชั่วคราวและหน่วยความจำถาวร 
- หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM: Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่เราปิดเครื่อง 
- หน่วยความจำถาวรหรือ หน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ Hard Disk ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง 
4.  หน่วยส่งออก ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลในรูปที่มนุษย์สามารถเข้าใจ อุปกรณ์ส่งออก ที่ใช้ใน ระบบคอมพิวเตอร์    ที่นิยมทั่วไปคือ จอภาพ (monitor) และเครื่องพิมพ์ (printer) 
5. หน่วยเก็บข้อมูล อุปกรณ์เก็บข้อมูลเป็นได้ทั้งอุปกรณ์อินพุตและอุปกรณ์เอ้าท์พุต เพราะ
1. ข้อมูลที่เก็บไว้ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลแล้ว เช่น แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ สามารถดึงออกมาเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการ ถือว่าเป็นอินพุต2. ข้อมูลที่จัดเก็บเข้าไว้ในอุกรณ์เก็บข้อมูลเพื่อไปใช้ในโอกาสต่อไป เช่น จดหมายธุรกิจ สามารถจัดเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ ถือว่าเป็นอินพุต
        อุปกรณ์ที่ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ฟลอปปี้ดิสก์ไดร์ฟ หน่วยสำรองเทป และซีดีรอมไดร์ฟ
อธิบายหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)
เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น   ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง   ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ   หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)
เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม
นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)
เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้   โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้
การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน

การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
               1. งบประมาณในการจัดซื้อ
               2. ประเภทของงานที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้
               3. สมรรถนะของเครื่อง
              4. ความสามารถในการ Upgrade ในอนาคต รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หลัก ๆ โดยทั่วไปมีดังนี้
                4.1. รุ่นและความเร็วในการประมวลผลของ CPU
                4.2. ชนิดและขนาดของหน่วยความจำ RAM
                4.3. ขนาดของหน่วยความจำแคช (Cache Lever 2)
                4.4. ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
          คอมพิวเตอร์พีซีโดยทั่วไปในปัจจุบัน เป็นระบบมัลติมีเดีย สามารถดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม และเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้   
การพิจารณารายละเอียดของเครื่องควรดูที่ความเหมาะสมในการนำมาใช้งานมากกว่าการตัดสินใจซื้อตามแฟชั่นหรือ
การเลือกซื้อรุ่นใหม่ล่าสุดเพื่อให้เป็นคนทันสมัย ซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายแพงเพราะอีกไม่นานก็จะตกรุ่น ราคาก็จะลดลงมาด้วย
 และยังเสี่ยงต่อความไม่สมบูรณ์ของเครื่อง เนื่องจากยังมีข้อผิดพลาดในการผลิต จะต้องมีการปรับปรุงอีก
เทคนิคของการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์คือ ควรซื้อเครื่องในรุ่นที่ต่ำกว่ารุ่นที่ออกใหม่ 1 รุ่น จะได้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในราคาถูก

ขั้นตอนและวิธีการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องมีขั้นตอนดังนี้
1.ตรวจเช็คอุปกรณ์ว่าอยู่ครบหรือไม่
2.ตรวจดูว่าเครื่องสามรถใช้งานได้หรือไม่         
3.ห้ามให้นักศึกษานำอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดเข้ามาทานในห้อง  เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้ เนื่องจากน้ำจะถูกใส่เครื่องคอมพิวเตอร์  
 4.ถ้าเครื่องทำงานไม่ปกติ  ให้ถอดปลั๊กออกอย่างรวดเร็ว
 5.ไม่ให้วางแก้วน้ำ  สารเคมี  วัตถุที่เป็นเหล็กโลหะไว้บนหน้าจอ     
6.อย่าหันหน้าจอไปมา   
7.ระวังอย่าให้สายไฟพันกันเยอะเกินไป 
8.เมื่อใช้งานเสร็จให้ปิดเครื่องทุกครั้ง         
 9.รักษาความสะอาดของห้องเสมอ เพื่อไม่ให้ฝุ่นเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
การทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์
จอภาพ  หลังจากที่เราใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ควรมีการดูแลรักษาด้วยวิธีง่าย ๆ แต่ควรปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอ คือ การทำความสะอาดจอภาพโดยใช้ผ้านุ่มชุบน้ำสบู่อ่อน เช็ดถูบริเวณจอแก้วและโดยรอบ จากนั้นเช็ดออกด้วยผ้าแห้งที่สะอาด          หากเป็นจอภาพที่มีการเคลือบสารป้องกันการสะท้อนแสง ไม่ควรเช็ดบนจอแก้วบ่อยจนเกินไป เพราะจะทำให้สารที่เคลือบไว้ลอกออก และห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาด หรือสเปรย์ใด ๆ
แป้นพิมพ์  ควรมีการเคาะฝุ่นออกบ้างโดยจับค่ำลงใช้แปรงหรือที่เป่าลม ปัดเศษผงออกแล้วเช็ดด้วยผ้านุ่มชุบน้ำสบู่อ่อนเช่นเดียวกัน
เมาส์  ควรเปิดฝาปิดลูกกลิ้งออกมาทำความสะอาดลูกกลิ้งและแกนหมุนที่สัมผัสกับลูกกลิ้ง
กล่องซีพียู  ควรมีการปัดฝุ่นหรือเช็ดทำความสะอาดเช่นเดียวกันโดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าช่องใส่แผ่นดิสก์
อุปกรณ์อื่น ๆ  ให้ศึกษาได้จากคู่มือการใช้งานและวิธีดูแลรักษา
ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง  
       1.  ไม่ควรนำอาหารหรือเครื่องดื่มมารับประทานในระหว่างที่ใช้เครื่อง      
       2.  ระวังอย่าทำน้ำหกใส่อุปกรณ์
       3.  อย่านำแท่งแม่เหล็กหรือแหล่งกำเนิดอำนาจแม่เหล็กเข้าใกล้จอภาพ          
       4.  ระวังอย่าให้แสงแดดจ้า ส่องกระทบอุปกรณ์โดยตรง
       5.  ไม่ควรเก็บอุปกรณ์ไว้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงโดยเฉพาะเกิน 40 องศาเซลเซียส
       6.  ไม่ควรใช้งานในบริเวณที่มีฝุ่นมาก
       7.  อย่าพยายามถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์ออกจากกัน หากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ      
       8.  ควรมีการดูแลรักษา และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ 
1. การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ควร Shut down ทุกครั้ง 
2. การใช้ Drive 1.44 ( Drive A: หรือ แผ่นดิสก์เกต ) ควรตรวจสอบสภาพแผนก่อนใช้ทุกครั้ง ตรวจสอบสติกเกอร์ที่ติดบนแผนต้องแนบสนิทกับแผ่นดิสก์ ถ้าสติกเกอร์ติดไม่แน่น เมื่อนำแผ่นดิสก์ออกจะทำให้บางส่วนของสติกเกอร์ติดค้างภายใน Drive 1.44 (เครื่องอ่านแผ่นดิสก์จะทำให้หัวอ่านแผ่นชำรุดหรือเสียหายได้   
3. ควรปัดฝุ่นหรือทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใหม่อยู่เสมอ เพราะเมื่อมีฝุ่นเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์มากๆ จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ร้อนจัดได้ง่าย เป็นสาเหตุของอาการเครื่องค้างหรือเครื่องHangได้
4. ภายในโปรแกรม Windows จะมีคำสั่งในการบำรุงรักษาเครื่อง ( Maintenance ) ซึ่งผู้ใช้ควรใช้คำสั่งนี้บ่อยๆ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรืออาทิตย์ละ 1 ครั้งสำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ คำสั่ง Disk Cleanup ,Scandisk และ Defrag ( วิธีใช้งานคำสั่งจะแนะนำต่อไป )       
5. ไม่ควรรับประทานอาหารขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะเศษอาหารจะทำให้หนูหรือแมลงต่างๆ เข้าสู่ภายในเครื่องและกัดแทะสายไฟทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหายได้
การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ทำความสะอาดเครื่องทั้งภายนอกและภายใน ตรวจและทำความสะอาดFloppy Disk Drive และ CD ROM ตรวจสอบและกำจัด Virus อุปกรณ์ใดที่ต้องหล่อลื่นให้หล่อลื่นด้วย
ที่มาของข้อมูลจาก
http://www.rayongwit.ac.th/computer/m2fri49/g22m2fri/output.htm
http://members.fortunecity.com/asoke/disk.htm
สืบค้นจากวันที่ 11/6/2554


แบบทดสอบ
1. หน่วยความจำ แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง และยกตัวอย่าง
ตอบ มี 2 ประเภท
- หน่วยความจำชั่วคราว เช่น ram
- หน่วยความจำถาวร  เช่น ฮาร์ดดิสก์ , Rom
2. คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐานกี่หน่วย อะไรบ้าง
ตอบ มีทั้งหมด 5 หน่วย คือ
- หน่วยรับเข้า
- หน่วยประมวลผล
- หน่วยความจำ
- หน่วยส่งออก
- หน่วยเก็บข้อมูล
3. อธิบายหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ พอสังเขบตอบ การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเริ่มจากผู้ใช้ป้อนข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า ข้อมูลถูกดปลี่ยนเป็นสัญญาณ นาฬิกาดิจิทัล แล้วส่งไปยังหน่วยประมวลผล จากนั้นหน่วยประมวลผลส่งข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้วแสดงผลผ่านอุปกรณ์ของหน่วยส่งออก
4. ยกตัวอย่างวิธีการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นตอบ 
1. ไม่ควรนำอาหารหรือเครื่องดื่มมารับประทานในระหว่างที่ใช้เครื่อง      
2.  ระวังอย่าทำน้ำหกใส่อุปกรณ์
3.  อย่านำแท่งแม่เหล็กหรือแหล่งกำเนิดอำนาจแม่เหล็กเข้าใกล้จอภาพ          
4.  ระวังอย่าให้แสงแดดจ้า ส่องกระทบอุปกรณ์โดยตรง
5.  ไม่ควรเก็บอุปกรณ์ไว้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงโดยเฉพาะเกิน 40 องศาเซลเซียส
6.  ไม่ควรใช้งานในบริเวณที่มีฝุ่นมาก
7.  อย่าพยายามถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์ออกจากกัน หากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ      
8.  ควรมีการดูแลรักษา และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
5. งานออกแบบที่แสดงผลทาง 3D ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ ควรเลือก CPU ที่มีความเร็วสูงไม่น้อยกว่า 2GHz มีแรมอย่างน้อย 4GB การ์ดแสดงผลที่สามารถแสดงภาพความละเอียดสูงได้ดี ควรใช้หนาจอที่มขนาดตั้งแต่ 24 นิ้ว ขึ้นไป และมีเครื่องสำรองไฟ